ดนตรีมอแกน

หน้าแรก ย้อนกลับ ดนตรีมอแกน

ดนตรีมอแกน

 

ดนตรีศิลปะพื้นบ้าน: ดนตรีมอแกน

ผศ.ดร. เรวดี อึ้งโพธิ์1

ผศ. ดร. นันธิดา จันทรางศุ2

   

        “ดนตรีมอแกน” คือ ดนตรีที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มมอแกน ที่ยังคงมีการร้องเล่นกันอยู่ในกลุ่มมอแกนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา และเกาะเหลา จ.ระนอง

       วงดนตรีของมอแกนไม่มีองค์ประกอบที่แน่นอน วงดนตรีดั้งเดิมประกอบด้วย คนร้อง ก่าติ๊ง และเครื่องประกอบจังหวะ เครื่องประกอบจังหวะดั้งเดิมสันนิษฐานว่ามาจากไม้ หิน และสิ่งอื่น ๆ ที่มาจากธรรมชาติ ต่อมาเมื่อชาวมอ-แกนรู้จักใช้เครื่องหุงหาอาหารที่เป็นโลหะ ชาวมอแกนจึงนำเครื่องมือในการประกอบอาหารและเครื่องมือที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมาเคาะเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ถือว่ามอแกนได้หยิบหาของใกล้ตัวมาใช้ตามสถานการณ์

     ในปัจจุบันเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของมอแกนได้นำเอากลองรำมะนาที่ใช้ในการแสดง ลำตัด3 (รำมะนา    ลำตัด4) ของไทยไปใช้ในการตีประกอบร้องและเพลงต่าง ๆ จังหวะที่ใช้ในบทเพลงต่าง ๆ ไม่มีจังหวะตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้นำกลุ่มและผู้ร่วมเล่น อย่างไรก็ตามในการบรรเลงร่วมยังคงมีลักษณะของจังหวะเคาะ (Beat) จังหวะหนัก (Strong Beat) และจังหวะที่สอดแทรกจังหวะหลัก สอดคล้องกันไปในแต่ละบทเพลง เครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ กลองรำมะนาลำตัด หม้อ กะละมัง ขัน ฆ้องโหม่ง (ของไทย) ไม้ไผ่ ฯลฯ

ตัวอย่างเพลงร้องของมอแกน

เพลงอ้ายบูมอ้ายบาบ

        โอ...บาบ บูมแมกาว บูมแมซาน บาบแนโอ นีกะแนบุ๊ด นีกะแกมัน..(วู้) มะออนแงดัน แงบาบ... มะออนลูซิก ดีแหง่บาบ บับแนโอแนตองแลงา ออกังแงบูมแกและแงบูม..(วู้) ดาลันแนโบด แน นิ ลัมแกบะ แน นิ โอแกบาบ แน ออ เดเกะแมตอง บา นะ เกะแมจะงานัดบานะ กือจะกือเบาะ ตืองาม่อน ดือแมตองแนะเบาะงามอน บาบแต่โอ้ บะแนเม่นแนฮงแนแซง..(วู้) บะอันแนแซเดโบ้ ยังดือแกดาดดีแมลัก ดือแกดาดดือมอม่องดือลอเลาะดือแง บาบดือโงบาง แงบาบแนะอูแงบูม แนอูแงบาบ ดีแงโอ้ บูมแมแก บูมแมส่าน ดือแนบ๊ดดือแนนี ดาลัมปินา ดาลัมงาแปบ ดีงอล่าง ดีมาอัดกอลังแงโบ้ ดีมาอัดบานังแอบาบ..(วู้) ดือนังดือนัง ดือดือนัง ดีดือนัง ลาดือนัง ดือนังดือนัง ลา เด ลาลูนังดือนัง ดูแมบาบ ดีแนโอ้ ดีแมตองโบะงา มองเออแงบาบ ดีแนโอ้ ดีแมจะแนโบะงามอน ดีแงโบม ดีแมเคด ดีแมกา ดีแอบูม ดีแมเคด ดีจิแน อูมแงบาบ แนอูม ดีนิกาโบ้ จ้อนจิจุม ดีแมงา ออนลาโบ้ง ดีแมงา ดีเกาะกังดีแง บูม ดิเนอดา ดีบูลา เอิงแงบาบ แมบูมแม ก๊ะ จะแงเป็น เดมาตา เดแมแซง บูมแมลายงันตีแนมา บูมแมลาย งันแตป้อ ดิจิฉะกะแตแงบูม แอบาบแอจะงานัดบานา บูมแมเกตแมลายเมยอา บูมแมเกตแมยาเมยอา บาบแนโอ้ แบะกอกังแนยาแนมอย

 

1อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

เพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองของไทย เป็นเพลงที่ใช้ในการร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย-หญิง โดยมีพ่อเพลง                                   และแม่เพลง ร้องนำและมีลูกคู่ร้องรับ
รำมะนาลำตัดเป็นกลองที่ขึงหนังหน้าเดียว ตัวกลองสั้น จากหน้ากลองถึงปลายกลองมีความยาวประมาณ                                                   13- 15 เซนติเมตร และมีขนาดหน้ากว้างประมาณครึ่งเมตร

แชร์ 3922 ผู้ชม

ดนตรี การละเล่น ศิลปะพื้นบ้าน

องค์ความรู้