ครูหมอโนรา

หน้าแรก ย้อนกลับ ครูหมอโนรา

ครูหมอโนรา

 

ครูหมอโนรา

        ครูหมอโนรา1  คือ ครูโนราที่เก่งหรือบรรพบุรุษของโนรา2 บางทีคำนี้จะเรียกว่า  “ครูหมอตายาย”  คือ โนราจะนับถือทั้งครูหมอหรือครูโนราและนับถือบรรพบุรุษของตน ซึ่งเรียกว่า  “ตายาย3”  คนทางภาคใต้ส่วนใหญ่มีตายายเป็นโนรา เพราะสมัยก่อนนิยมโนรากันมาก คนดีคนเก่งต้องสามารถรำโนราได้ ผู้ที่รำโนราถือว่าโนรามีครู ใครทำผิดจารีตหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เหมาะไม่ควรก็จะถูกครูหมอกระทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ เวลาได้รับความทุกข์ยากลำบากก็จะบนครูหมอ ซึ่งถือเป็นเทพที่ศักดิ์สิทธิ์ การบนบานของโนรามีหลายกรณี เช่น ถ้าไม่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหารจะแก้บนด้วยการเล่นโรงครู4  3 วัน เป็นต้น ในการเล่นโรงครู 3 วัน คือโนราจะเข้าโรงในวันพุธตอนบ่ายและออกใน      วันศุกร์ ในการเล่นแก้บนนั้นจะมีพิธีเซ่นและเชื้อเชิญครูหมอโนรามาเข้าประทับทรงด้วย การเชื้อเชิญแล้วแต่จะเชื้อเชิญครูหมอองค์ใดมา (ที่เรียกองค์อาจถือว่าเป็นเทพ) หรือจะเชื้อเชิญหลายองค์ก็แล้วแต่เจ้าภาพ  แต่โดยทั่วไปครูหมอโนราจะตามระวังรักษาคุ้มครองคณะโนราอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เพราะทุกครั้งที่โนราจะแสดงต้องกาศครู          ครูต่าง ๆ ที่กล่าวถึงสืบต่อกันมานั้น คือ ครูหมอ ตัวอย่างเช่น

 

          จากตัวอย่างคำกาศครูหรือเชิญครูของโนราที่กล่าวถึงจะเห็นว่ามีครูหมอโนราอยู่หลายองค์ คือ แม่ศรีคงคา    หรือแม่ศรีมาลา, พ่อเทพสิงหร, ขุนพราน, ยาพราน, พรานบุญ (หน้าทอง), พรานทิพ, พรานเทพ, พ่อขุนศรัทธา,      หลวงสุทธิ์, นายแสน, หลวงคงวังเวน, พระยาโถมน้ำ, พระยาลุยไฟ, พระยาสายฟ้าฟาด, พระยามือเหล็ก, พระยามือไฟ และ ตาหลวงคง

 

สรุปความกลอนครูหมอโนรา

ตัวอย่างที่ 1

               

          บทกลอนนี้ กล่าวถึง การเชิญครูหมอโนรา ชื่อแม่ศรีคงคา ซึ่งเป็นน้องพ่อเทพสิงหร มาประทับทรง (โนรา) ก่อนทำการแสดง ซึ่งถ้าแม่ศรีคงคารักลูก (โนรา) จริง ขอให้มาอวยพร มานอนสอนลูก (โนรา) รำตอนทำการแสดง

อีกตอนหนึ่งว่า

ตัวอย่างที่ 2

                 
 

          บทกลอนนี้ กล่าวถึง การเชิญครูหมอโนรามาประทับทรง (โนรา) จำนวน 15 องค์ ก่อนทำการแสดง            อันประกอบด้วย 1) ขุนพราน 2) ยาพราน 3) พรานบุญ (หน้าทอง) 4) พรานทิพ 5) พรานเทพ 6) พ่อขุนศรัทธา 7) หลวงสุทธิ์ 8) นายแสน 9) หลวงคงวังเวน 10) พระยาโถมน้ำ 11) พระยาลุยไฟ 12) พระยาสายฟ้าฟาด 13) พระยามือเหล็ก 14) พระยามือไฟ และ 15) ตาหลวงคง

 

 
 

1 เรียบเรียงโดยสรุปจากเรื่อง “ครูหมอโนรา” (หน้า 924). ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่มที่ 2. (2542). มูลนิธิ                                 สารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. กรุงเทพฯ.
2 โนราเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้
3 ตายาย หมายถึง บรรพบุรุษของโนรา
4 โรงครู หมายถึง การประกอบพิธีรำโนราเพื่อบนบานศาลกล่าว หรือ เพื่อบูชาครูหมอโนรา

แชร์ 16249 ผู้ชม

ดนตรี การละเล่น ศิลปะพื้นบ้าน

องค์ความรู้