หน้าแรก ย้อนกลับ ประเพณีและพิธีกรรมการเฉลิมฉลองของประเทศอินโดนีเซีย
ที่มา: https://culture55521014.wordpress.com/
ประเพณีและพิธีกรรมการเฉลิมฉลองของประเทศอินโดนีเซีย
1. วันกาลุงกัน
ที่มา: https://bit.ly/3HznRAj
เทศกาลกาลุงกัน เป็นประเพณีทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวบาหลี มีความหมายว่า “วันที่ธรรมะชนะอธรรม” ในแต่ละปี เทศกาลกาลุงกันจะจัดงานไม่ตรงกัน โดยจะกำหนดตามปฏิทินของชาวบาหลี ที่เรียกว่า ปฏิทินปาคูวอน (Pakuwon Calendar) ซึ่งนับตามจันทรคติ และจะมีเพียง 6 เดือน แต่ละเดือนจะมี 35 วัน รวมแล้วมี 210 วัน ดังนั้นงานบุญครั้งใหญ่นี้จะจัดขึ้นทุกๆ 210 เป็นเวลานานราว 10 วัน ประเพณีกาลุงกัน ชาวบาหลีจัดขึ้นเพื่อฉลองให้แก่ธรรมะที่สามารถเอาชนะอธรรมได้ เชื่อว่าบรรพบุรุษที่จากไปจะกลับมาเยี่ยมลูกหลานในช่วงเวลานี้ จึงมีการตั้งเสาไม้ไผ่สูงไว้หน้าบ้าน ตกแต่งด้วยทางมะพร้าวสานเป็นรูปต่าง ๆ ส่วนที่ประตูบ้านมีการตั้งศาลเพียงตาจัดวางเครื่องสักการะ มีทั้งขนม ผลไม้ ดอกไม้สีสันสดใส อัญเชิญให้ผีบรรพบุรุษมารับไป
2. พิธีเวอลามาตัน
ที่มา: https://bit.ly/3B59GAh
พิธีเวอลามาตันเป็นพิธีของชาวมุสลิมในชวา โดยในพิธีดังกล่าวจะเชิญอิหม่ามหรือผู้รู้ในศาสนามาอ่านบทสวด จุดกำยานหอมกรุ่นไปทั่วบริเวณงาน หลังจากนั้นจะมีการกินอาหารร่วมกัน ซึ่งเป็นอาหารพิเศษ เช่น การหุงข้าวสีเหลืองอัดเป็นรูปกรวยหรือที่ชาวอินโดนีเซียเรียกว่า ตุมเป็ง ซึ่งจะกินร่วมกับอาหารหลายอย่าง การสวดมนต์และการเลี้ยงอาหารเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสมบูรณ์พูนสุขของชีวิต พิธีเวอลามาตันมักจัดขึ้นเพื่อฉลองโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานวันเกิด การเข้าสุนัต งานแต่งงาน หรืองานขึ้นบ้านใหม่
3. เทศกาลโอดาลัน
ที่มา: https://bit.ly/3JbGDhh
เทศกาลโอดาลันเป็นเทศกาลรื่นเริงของชาวบาหลี งานจะมีขึ้นทุก ๆ 210 วัน ตามปฏิทินจันทรคติของบาหลี (Pakuwon Calendar) ซึ่งปฏิทินดังกล่าวจะมีเพียง 6 เดือน แต่ละเดือนมี 35 วัน เทศกาลโอดาลันเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งวัดในศาสนาฮินดู เป็นโอกาสที่ชุมชนหมู่บ้านชาวฮินดูมารวมตัวกันอัญเชิญเทพเจ้ามาเยี่ยมพวกเขาเป็นเวลาสามวันหรือมากกว่านั้น จัดทำพิธีทางศาสนาร่วมกันเพื่อถวายเครื่องดื่มและความบันเทิง เป็นการเฉลิมฉลองมรดกทางวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงของชาวฮินดูบาหลี อีกทั้งยังเป็นงานที่นำคนทุกรุ่นทั้งคนแก่ คนหนุ่มสาว เด็ก มาทำบุญ พบปะสังสรรค์กันในวัดฮินดูของแต่ละชุมชน งานเทศกาลนี้จึงได้ทั้งบุญและความกลมเกลียวของคนในชุมชน หนุ่มสาวจะแต่งตัวพื้นเมือง ผู้หญิงนุ่งโสร่งแนบตัวที่เรียกว่า กาบายะ ส่วนผู้ชายนุ่งโสร่งซ้อนกันสองชั้น มีผ้าโพกหัว
วิทย์ บัณฑิตกุล. (2555). หนังสือชุดประชาคมอาเซียน: อินโดนีเซีย. (หน้า 131-136). โอดาลัน. (ม.ป.ป.). โอดาลัน. https://bit.ly/3uDq7ma Natthapol Y,. (ม.ป.ป.). Chapter 1: INFORMATION ON THE INDONESIA. https://bit.ly/331pyaw Orientavista. (2558). มารู้จักงานเทศกาลของชาวบาหลีกันเถอะ (ตอนที่ 1). https://bit.ly/3siR4Jb
แชร์ 6116 ผู้ชม