นายยก ชูบัว
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ประจำปี 2530
1.ประวัติ |
นายยก ชูบัว1 หรือโนรายก เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดาชื่อนายเลิศ มารดาชื่อเอี่ยม และได้สมรสกับนางสาวกล่ำ พงศ์ชนะ มีบุตรบุญธรรมร่วมกัน 1 คน โดยโนรายกได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ. 2548 โนรายกเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปว่าเป็นคนใจเย็น จิตใจหนักแน่น พูดจาเรียบ- ร้อย และมักจะสอดแทรกคติธรรมให้แก่ผู้ร่วมสนทนาอยู่เสมอ โดยสาหตุที่ชื่อ “ยก” นั้น มาจากเมื่อตอนที่โนรายกเกิด เป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และครอบครัวต่างก็คิดว่าจะต้องเสียชีวิตอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงได้นำร่างไปห่อผ้าขาวเพื่อจัดเตรียมไปฝัง แต่เมื่อข่าวได้ล่วงรู้ไปถึงตาอ้น หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันทั่วไปในนามของ “โนราถั่วเขียว” ซึ่งเป็นโนราที่มีชื่อเสียงมากในจังหวัดพัทลุงสมัยนั้น โนราเขียวจึงได้บนบานกับครูหมอตายายโนราเพื่อขอให้หลานรอดชีวิต โดยได้บนบานว่า “ถ้ารอดชีวิตแล้วจะให้พรานสักคน” ซึ่งหมายถึงจะให้แสดงโนราสืบทอดต่อไป ดังนั้นเมื่อโนรายกสุขภาพดีขึ้น ทำให้โนราถั่วเขียวเชื่อว่าเป็นเพราะอำนาจของครูหมอตายายโนราที่ช่วยหลานไว้ ด้วยเหตุนี้จึงให้หลานชื่อว่า “ยก” ซึ่งหมายถึงการยกให้เป็นลูกของหมอตายายโนรานั่นเอง |
2.การศึกษา |
พ.ศ. 2478 : สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดควนพนางตุง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
3.การทำงาน |
พ.ศ. 2478 : รำโนรากับคณะโนราเลื่อน พงศ์ชนะ พ.ศ. 2481 : ตั้งคณะโนรา ชื่อว่า “โนรายก ทะเลน้อย” พ.ศ. 2486 : รับราชการเป็นพลตำรวจ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และลาออกเมื่อปี พ.ศ.2489 |
4.รางวัล |
ตัวอย่างรางวัลที่โนรายกได้รับ เช่น พ.ศ. 2490 : ชนะเลิศการประชันโนรา ซึ่งจัดโดย วัดจะทิ้งพระ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ติดต่อกัน 13 ปี พ.ศ. 2518 : รำถวายสมเด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ เกาะอาดัง ตำบลเกาะ สาหร่าย อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล ซึ่งการรำถวายในครั้งนี้โนรายกได้ รับพระราชทานเข็มที่ระลึกจากถวายสมเด็จสมเด็จพระศรีนคริน- ทราบรมราชชนนี ได้รับเกียรติบัตรจากกรมศิลปากร ในฐานะที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือสนับสนุน ให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างดียิ่ง พ.ศ. 2519 : ได้รับโล่เกียรติยศจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะที่เป็นผู้อุทิศตน บําเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528 : ได้รับการยกย่องจากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น “ศิลปินพื้นบ้านดีเด่น สาขามโนราห์” พ.ศ. 2529 : ได้รับโล่ศิลปินพื้นบ้านดีเด่น สาขามโนราห์ ที่คณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ (สวช.) เป็นผู้ประกาศ โดยได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2530 : ได้รับการยกย่องจากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) |
1 เรียบเรียงโดยสรุปจากเว็บไซต์ “https://www.m-culture.go.th/songkhla/ewt_news.php?nid=530&filename=index”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564
แชร์ 1882 ผู้ชม