นายสมใจ ศรีอู่ทอง

หน้าแรก ย้อนกลับ นายสมใจ ศรีอู่ทอง

นายสมใจ ศรีอู่ทอง
 

นายสมใจ ศรีอู่ทอง

ศิลปินพื้นบ้านยอดเยี่ยมประจำภาคใต้ สาขาเพลงบอก

 
 

1.ประวัติ

           นายสมใจ ศรีอู่ทอง1 หรือเพลงบอกสมใจ เป็นศิลปินพื้นบ้านยอดเยี่ยมประจำภาคใต้ รางวัลพระพิฆเนศทองราชทาน เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ณ ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้สมรสกับนางหมัดแป้ง อู่ทอง มีบุตรร่วมกัน 8 คน โดยเพลงบอกสมใจ เป็นนักเลงเพลงบอกชาวปากพนังที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ยอมรับถึงความแตกฉานในกลอนแบบด้นสดที่เรียกกันว่า “มุตโต” และเป็นผู้ที่ได้พัฒนาเพลงบอกทรงเครื่องขึ้น โดยการนำเครื่องดนตรีหลาย ๆ ชิ้นเข้าไปประกอบการละเล่น ได้แก่ ฉิ่ง รำมะนา ฆ้องโหม่ง และมาราคัส

            เพลงบอกสมใจเริ่มต้นการเป็นศิลปินด้วยการแสดงหนังตะลุง ชื่อว่า “หนังสมใจ ศรีอู่ทอง”  จากนั้นก็แสดงหนังตะลุงเรื่อยมาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้หยุดการแสดง แต่ด้วยความหลงใหลในบทกลอน จึงตัดสินใจฝึกหัดว่าเพลงบอกแบบครูพักลักจำ จากนั้นไม่นานก็ได้รับเชิญให้ไปขับเพลงบอกที่งานศพบ้านบางบูชา ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับเพลงบอกสังข์ บางพร้าว ซึ่งเป็นครูเพลงบอกที่มีความสามารถสูง การแสดงครั้งนั้นเป็นไปด้วยดี เป็นที่ยอมรับของผู้ฟัง และเป็นที่ชื่นชมของเพลงบอกสังข์ ต่อมาเพลงบอกสมใจจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับเพลงบอกสังข์ และได้เรียนตำราการว่าเพลงบอกอย่างครบถ้วน ทั้งการไหว้ครู วิธีการว่าเพลงบอกที่ใช้ในงานต่าง ๆ  

        ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2525 มีการจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีการรับสมัคร  คณะเพลงบอกเพื่อประชัน เพลงบอกสมใจเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้พิสูจน์ตัวเอง จึงได้ชักชวนเพื่อน ๆ ตั้งคณะเพลงบอกชื่อว่า “เพลงบอกสมใจ ศรีอู่ทอง (ศิษย์พ่อสังข์)” เพื่อเข้าร่วมแข่งขันประชันเพลงบอกในงานดังกล่าว โดยในการแข่งขันได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง หลังจากนั้นได้เข้าร่วมแข่งขันประชันเพลงบอกเรื่อยมา และได้รับรางวัลมากมาย ทำให้เพลงบอกสมใจมั่นใจว่าการตัดสินใจเข้าสู่วงการเพลงบอกก็สามารถทำเป็นอาชีพ สร้างรายได้ไม่แพ้หนังตะลุง

2.การศึกษา

ปี พ.ศ.2507:  สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไตรสามัคคี ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

2.การศึกษา 

สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ไม่ปรากฏชื่อโรงเรียน)

3.การทำงาน

ตัวอย่างการทำงาน เช่น

พ.ศ. 2531-2539 : สาธิตเพลงบอกในงานมหกรรมวัฒนธรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ สนามหลวง กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2540-2549 : วิทยากรเพลงบอกในการสัมมนาสรุปผลโครงการบริหารจัดการ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

พ.ศ. 2550-2557 : วิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการ โครงการเครือข่ายทางวัฒนธรรม ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา

4.รางวัล                  

พ.ศ. 2525-2529 :  - รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง งาน 200 ปี เฉลิมกรุงรัตนโกสินทร์

                                - รางวัลชนะเลิศ งานมหกรรมเพลงบอกที่สนามหน้าเมือง                                                                     จังหวัดนครศรีธรรมราช

พ.ศ. 2531-2539 :  - รางวัลชนะเลิศ การประกวดเพลงบอกประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งของ                                               จังหวัดนครศรีธรรมราช

                                - รางวัลชนะเลิศ การประกวดเพลงบอก ในงานประเพณีเทศกาล                                                          เดือนสิบ  อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2539

พ.ศ. 2540-2542 :  - รางวัลชนะเลิศโครงการเพชรน้ำหนึ่งมรดกไทย รับถ้วยพระราชทานจาก                                           สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ                                                           สยามบรมราชกุมารี                 

                                 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดเพลงบอก ในงานประเพณีเทศกาล                                                          เดือนสิบ  อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

พ.ศ. 2550-2554:   - รางวัลคนดีศรีเมืองนครศรีธรรมราช

                                 - รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยพื้นบ้านดีเด่นประจำปี 2552

                                 - กระทรวงวัฒนธรรมมอบเกียรติบัตรในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ                                                     กระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ

                                 - รางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันเพลงบอกอาชีพชิงถ้วยพระราชทาน                                                     จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช-                                                            สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี           

 

1 เรียบเรียงโดยสรุปจากเว็บไซต์ “https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/4/ceea2b14”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564

แชร์ 1601 ผู้ชม

ครูพื้นบ้าน

องค์ความรู้